วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Noun

Noun
คำนาม (noun)
คำนามเป็นคำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สถานที่ สิ่งของ และนามธรรม เช่น student, policeman, dog, snake, airport, river, television, sugar, love, etc.
ประเภทของคำนาม แบ่งได้ดังนี้
1)คำนามทั่วไป (common noun) เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สถานที่ สิ่งของ สภาวะทั่วๆ ไป เช่น man, panda, city, day
2)คำนามเฉพาะ (proper noun) เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อคนหนึ่งคนใด สิ่งของหนึ่งสิ่งของใด สถานที่หนึ่งสถานที่ใดโดยเฉพาะ เช่น
man เป็น common noun David เป็นชื่อเฉพาะเรียก man คนหนึ่ง
panda เป็น common noun Linping เป็นชื่อเฉพาะเรียก panda ตัวหนึ่ง
city เป็น common noun London เป็นชื่อเฉพาะเรียก city แห่งหนึ่ง day เป็น common noun Saturday เป็นชื่อเฉพาะเรียก day วันหนึ่ง
ชื่อวันและเดือนต้องเป็นคำนามเฉพาะ เช่น Monday, Tuesday, etc. January, February, March, etc.
คำนามเฉพาะ (proper noun) ต้องเขียนอักษรตัวแรกของคำด้วยอักษรตัวใหญ่ (capital letter)
3)คำนามนับได้ (countable noun) คือคำนามที่นับจำนวนได้ จึงมีรูปเอกพจน์ (singular form) และรูปพหูพจน์ (plural form)
การเปลี่ยนรูปเอกพจน์เป็นรูปพหูพจน์มีดังนี้
กลุ่มที่ 1 คำนามส่วนมาก เติม s ที่รูปเอกพจน์เมื่อต้องการรูปพหูพจน์ เช่น คำต่อไปนี้
Singular Form
potato
watch
bus
Plural Form
potatoes
watches
buses
ข้อยกเว้น

1. คำที่ลงท้ายด้วย o เช่น buffalo ใช้ได้ 2 แบบ คือเติม es ดังนี้ buffaloes หรือใช้รูปเดิมก็ได้ คือ buffalo
2. คำนามที่ลงท้ายด้วย o ที่มาจากภาษาอื่น หรือคำที่เป็นคำย่อ ให้เติม s เท่านั้น เช่น คำต่อไปนี้
kilo = kilos
piano = pianos
photo = photos
4) คำนามนับไม่ได้ (uncountable noun) ได้แก่
-คำนามที่เรียกสิ่งที่นับจำนวนไม่ได้หรือไม่สามารถแยกนับเป็นหนึ่ง สอง สาม ฯลฯ ได้
-คำนามที่บอกการกระทำ (action) คุณสมบัติ (quality) หรือ สภาพ (state) ซึ่งไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ คำนามเหล่านี้เรียกว่า อาการนาม (abstract noun) ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดได้ในเรื่อง อาการนาม เช่น
-คำนามที่เป็นชื่อวิชาหรือชื่อกีฬา
-คำนามที่เรียกชื่อโรคต่าง ๆ เช่น mumps, measles, shingles (งูสวัด)
-คำนามต่อไปนี้ luggage, baggage, furniture, weather, news, etc. คำนามนับไม่ได้จะมีคุณสมบัติเป็นเอกพจน์เสมอ และไม่ใช้คำกำกับนาม a/an นำหน้า
5) สมุหนาม (collective noun) เป็นคำนามเอกพจน์ซึ่งใช้เรียกคนเป็นกลุ่ม เช่น
family, staff, team, bunch, army, crowd, government, company, class, club, gang, jury, band, committee ,

คำนามเหล่านี้จึงสามารถใช้เสมือนเป็นคำพหูพจน์ใช้กริยาพหูพจน์  (plural verb)  แต่ใช้กับกริยาเอกพจน์  (singular verb)  ก็ได้   ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้พูดหรือผู้เขียนตั้งใจจะหมายถึงอะไร
ถ้าผู้พูดหมายถึง   คนจำนวนมากกว่า 1 คน ( = people) กำลังทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีคนมากกว่า 1 คนทำ  เช่น การวางแผนต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด  ฯลฯ ควรจะใช้กริยาพหูพจน์และต้องแทนด้วยคำสรรพนาม  “they”  เช่น
                        Our school team are wearing the school uniform.
                  ถ้าหมายถึง  กลุ่มเดียว/หน่วยเดียว (a single group or unit)  ให้ใช้กริยาเอกพจน์  เช่น
                        Our school team is better than our opponent’s.
                        The family is going to Italy next month.
                  สมุหนามบางคำมีรูปพหูพจน์ได้และต้องใช้กับกริยาพหูพจน์    เช่น
                        family =  families      class = classes      crowd = crowds

6)   อาการนาม (abstract noun) ได้แก่คำนามที่เรียกสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง เช่น  honesty  คำนาม
ประเภทนี้เป็นคำนามที่บอกการกระทำ (action)  คุณสมบัติ (quality) หรือสภาพ (state)  ซึ่งไม่มีตัว
ตนที่จับต้องได้  อาการนามเป็นคำนามที่นับไม่ได้  เช่น
ability    courage     death fear  help   
decisionexperience beauty hope   pity
honestyhorror      knowledge happinessmercy       
poverty      arrival   choice      shopping   camping


7)   คำนามวัตถุ/ คำนามที่ใช้เรียกสิ่งที่เป็นรูปธรรม  (material noun/ concrete noun)     คำนามประเภทนี้เป็น  mass noun  เป็นคำนามที่เรียกสิ่งของที่มีรูปร่าง   อยู่เป็นกลุ่มก้อน แต่นับไม่ได้ ต้องระบุจำนวนมากน้อยโดยบอกเป็นปริมาณ และเป็นคำนามที่บ่งบอกถึงเนื้อวัตถุ  จะมีรูปเป็นเอกพจน์และใช้กับกริยาเอกพจน์เสมอ เช่น  rice, soap, gold, water, wood
                             คำนามวัตถุจะไม่ใช้คำกำกับนาม a/an  นำหน้า  เช่น
                             Rice is grown in Thailand.
                             We wash our hands with soap and water before meals.
                             Gold is very expensive these days.
                             วิธีระบุปริมาณของคำนามวัตถุ ต้องใช้ common noun  มาช่วยแสดงปริมาณโดยใช้รูปแบบกลุ่มคำดังนี้
                        common noun + of + material noun  เช่น
a glass of water a jug of milk
a cup of tea  a loaf of bread
a bar of soap   a cube of sugar
a piece of paper a bag of rice

                        วิธีทำเป็นพหูพจน์ ต้องเปลี่ยนที่ common noun ดังนี้
                             He drinks two glasses of milk every morning.
                             She bought three loaves of bread.
                             Please give me five pieces of writing paper.
8)   คำนามที่แสดงเพศ (gender)  มีอยู่ 4 ประเภทคือ  เพศชาย (masculine),  เพศหญิง (feminine), เพศรวม  (common gender) และไม่มีเพศ (neuter)
                              คำนามที่บ่งบอกเพศชายและเพศหญิง
                                   -  สำหรับเรียก คน (people)    
M     F   M      F    
boygirlmanwoman
son daughter uncleaunt
father motherhusbandwife
nephewniecebachelor spinster
gentleman    lady     bridegroom bride
widower  widow    duke   duchess     
king    queen   prince       princess
actor      actress  host      hostess   
hero              heroine   waiter       waitress
salesman        saleswoman    god          goddess
heir             heiress  steward  stewardess


 -  สำหรับเรียก สัตว์  (animals) ต่อไปนี้ 
M     F   M      F     M F  
drake duck bull cowcock hen
gander  gooseramewe dogbitch
tiger   tigresslionlioness


                              คำนามที่บ่งบอกเพศรวม เช่น
                                boy – girl  = child                    son – daughter = child
                                man – woman =  person          father – mother =  parent*
                                cock – hen  =  fowl                 ram – ewe =  sheep
                              * คำว่า parent   ถ้าหมายถึงทั้งพ่อและแม่ จะเป็นพหูพจน์    คือ  parents    แต่ถ้าพูดถึงคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียว คือ พ่อหรือแม่  ใช้เป็นเอกพจน์  คือ  parent
                             คำนามไม่มีเพศ มักจะเป็นคำนามที่เรียกสิ่งของ  เช่น   book, table, television, telephone, camera, etc.


    แหล่งที่มา


    หน้าที่ของคำนาม

    1. ทำหน้าที่เป็นประธานของกริยาในประโยค
    เช่น
    A cat has four legs.

    2. ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยาในประโยค
    เช่น
    I hit him.

    3. ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบทในประโยค
    เช่น
    He has waited for Jim since 10.00 a.m.

    4. ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยาเพื่อขยายให้ประธานได้ความชัดเจนขึ้น
    (นามตามข้อ 4 นี้ จะเรียงอยู่หลัง Verb to be)
    เช่น
    He is a teacher.

    5. ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายกรรม เพื่อให้กรรมตัวนั้นมีเนื้อความกระจ่างขึ้น หรือ อีกนัยหนึ่งจะเรียกว่า ทำหน้าที่เป็นทั้งกรรมและส่วนสมบูรณ์พร้อมกันได้
    เช่น
    We gave him a toy.
    พวกเราให้ของเล่นแก่เขา

    6. ทำหน้าที่เป็นนามซ้อนนามที่อยู่ข้างหน้าได้ และ ระหว่างนามข้างหน้ากับนามที่ไปซ้อนตามหลังจะต้องใส่เครื่องหมาย , (คอมม่า) คั่นไว้ทุกครั้ง ซึ่งมี 2 กรณี
    • กรณีที่ซ้อนส่วนที่เป็นประธาน จะวางไว้หลังประธาน
    เช่น
    Reagan, the president of the U.S.A., visited Japan.


    • กรณีที่ซ้อนส่วนที่เป็นกรรม จะวางไว้หลังกรรม
    เช่น
    We admire our teacher, Mr. Boon.

    7. ทำหน้าที่เป็นนามเรียกขาน
    เช่น
    You ar right, Jaruwan.

    8. ทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของนามทั่วไป โดยมีเครื่องหมาย 's
    เช่น
    This is the lady's skirt which is very dear.
    นี้คือกระโปรงของสุภาพสตรี ซึ่งมีราคาแพง

    9. ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ ประกอบนามด้วยกัน โดยวางไว้หน้านามนั้น
    เช่น
    The volleyball match for today is very interesting.
    การแข่งขันวอลเลย์บอลสำหรับวันนี้น่าสนใจมาก

    10. ทำหน้าที่เป็นกรรมซึ่งมีลักษณะและความหมายเดียวกันกับกริยาที่อยู่ข้างหน้า
    เช่น
    They ran a lively race.
    พวกเขาวิ่งแข่งกันอย่างสนุกสนาน

    11. ทำหน้าที่เป็นประธานอิสระของกลุ่มคำที่เป็นส่วนของกริยาวลี แล้วไปทำหน้าที่ขยายประธานในประโยคหลักอีกที
    เช่น
    Breakfast being over, we all sat and talked.
    เมื่อทานอาหารมื้อเช้าเสร็จแล้ว พวกเราทุกคนก็นั่งคุยกัน
    แหล่งที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น